กศน.ตำบลหัวช้าง:แหล่งเรียนรู้ราคาถูก http://huachang101.siam2web.com/



  
  



ร่าง

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕

--------------------------------------------------------------------

วิสัยทัศน์

คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพ

อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมฐานความรู้ และการมีอาชีพอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

๑. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ

๒. จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำเพื่อพัฒนาสมรรถนะของ

ประชาชนและชุมชนให้สามารถสร้างสรรค์และแข่งขันด้านอาชีพไดอ้ ย่างยั่งยืน

๓. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการดำเนินงาน

การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษา

เพื่อการมีงานทำ

๔. พัฒนาและส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและ

การศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ

๕. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาเพื่อการมีงาน

ทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๑. การเยียวยาและฟื้นฟูหลังวิกฤตอุทกภัย

๑.๑ ให้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้เพื่อการป้องกันภัยพิบัติ การจัดการแก้ปัญหาใน

กรณีที่ประสบภัยพิบัติ สำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง

๑.๒ จัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจและเสริมสร้างสมรรถนะในการ

ประกอบอาชีพ ให้ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ทั้งในการพัฒนาอาชีพเดิม การ

แสวงหาอาชีพเสริม และการสร้างอาชีพใหม่ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานเพื่อส่ง

เข้าสู่ระบบการผลิตอุตสาหกรรมตามเดิม

๑.๓ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานและ

สถานศึกษาในสังกัดเพื่อขอรับการสนับสนุนในการซ่อมแซมและฟื้นฟูให้มีความพร้อมสำหรับ

ให้บริการประชาชนต่อไป

๑.๔ ให้มีการเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่ที่อาจประสบภัยในลักษณะอื่นใดด้วย

อาทิ วาตภัย ดินถล่ม อัคคีภัย ภัยจากอากาศหนาว ภัยแล้ง โดยจัดให้มีการจัดทำแผนสำรอง

ภาวะฉุกเฉินและมีการซ้อมการดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงที่

อาจเกิดจากภัยต่างๆ

๑.๕ เร่งจัดบริการเพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนโดยจัดหา

อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องดำรงชีพขั้นพื้นฐาน และที่พักอาศัยชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย

๒. การจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

๒.๑ เร่งเสนอจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนจังหวัดในทุกจังหวัด โดยมี

ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ เพื่อเป็นกลไก

ในการกำหนดทิศทาง อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริมสนับสนุนและบูรณาการ

การดำเนินงานการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของจังหวัด

๒.๒ เร่งสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการด้านการศึกษา

อาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการด้านแรงงาน สินค้า และบริการ รวมทั้ง

ศักยภาพของพื้นที่ ทั้ง ๕ ด้าน กล่าวคือ ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่

ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละ

พื้นที่ ศักยภาพของศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และศักยภาพของ

ทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมากำหนดหลักสูตรอาชีพตาม ๕ กลุ่มอาชีพหลัก

นโยบายเร่งด่วน

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

กล่าวคือ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และบริหารจัดการและ

บริการ

๒.๓ เร่งพัฒนาและจัดทำหลักสูตรการศึกษาอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการ

ของผู้เรียน ความต้องการของตลาด และศักยภาพของพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัด

การศึกษาอาชีพแนวใหม่ เป็นการจัดการศึกษาที่สามารถสร้างอาชีพหลัก ที่มั่นคงให้กับผู้เรียน

โดยสามารถสร้างรายได้ได้จริงทั้งในระหว่างเรียนและสำเร็จการศึกษาไปแล้ว และสร้าง

ความสามารถเชิงการแข่งขันให้กับชุมชน

๒.๔ จัดให้มีศูนย์ฝึกอาชีพในทุกอำเภออย่างน้อยอำเภอละ ๒ แห่ง เพื่อเป็น

ศูนย์กลางในการฝึก พัฒนา สาธิต และสร้างอาชีพของผู้เรียนและชุมชน รวมทั้งเป็นที่จัดเก็บ

แสดง จำหน่าย และกระจายสินค้าและบริการของชุมชนอย่างเป็นระบบครบวงจร

๒.๕ ประสานการดำเนินงานกับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของหน่วยงานและสถานศึกษา

ต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการฝึกและสร้างอาชีพของประชาชนและชุมชนใน

จังหวัด กลุ่มจังหวัด และระหว่างจังหวัด

๒.๖ จัดให้มีระบบการประสานงานเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งทุน

ต่างๆ สำหรับเป็นช่องทางในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพัฒนาขีดความสามารถในการ

แข่งขันด้านอาชีพอย่างต่อเนื่องให้กับผู้เรียน

๒.๗ จัดให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมี

งานทำอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง พร้อมทั้งนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้

เป็นไปตามความต้องการด้านการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของประชาชน ความต้องการของ

ตลาด และศักยภาพของพื้นที่ทั้ง ๕ ด้าน

๓. เร่งรัดจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน

๓.๑ เร่งพัฒนาหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งเน้น

ให้ผู้เรียนสามารถนำสาระการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการพัฒนา

คุณภาพชีวิตโดยรวม และสร้างเสริมสมรรถนะการประกอบอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่าง

มั่นคง

๓.๒ เร่งพัฒนาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี

เนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่ทันสมัย ครอบคลุมตามโครงสร้างหลักสูตร นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ได้

มาตรฐานทั้งความรู้สากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทำในรูปแบบสื่อเอกสารและสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่ให้สถานศึกษาในสังกัดอย่างทั่วถึง

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๓.๓ ส่งเสริมให้ กศน.อำเภอทุกแห่งดำเนินการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์

รวมทั้งผลการเรียนอย่างเป็นระบบ ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตร เพื่อการขยายโอกาสทาง

การศึกษาให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง

๓.๔ พัฒนาระบบการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษาที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม

ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

อย่างมีประสิทธิภาพ

๔. เร่งรัดการจัดระบบความรู้สำหรับประชาชน

๔.๑ รณรงค์ส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ตระหนักถึงความสำคัญของ

การอ่านเพื่อเป็นวิธีการในการแสวงหาความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

๔.๒ เร่งพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนและประชาชนให้สามารถอ่านได้

อย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๓ พัฒนาหนังสือและสื่อที่มีเนื้อหาสาระจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และหนังสือดีมี

คุณภาพในการพัฒนาความรู้สำหรับประชาชนในชุมชน

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๑. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ

๑.๑ จัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๑) ดำเนินการให้ผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้รับ

การสนับสนุนค่าจัดซื้อตำราเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าเล่าเรียนอย่าง

ทั่วถึง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

๒) จัดหาตำราเรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ

ตามที่สำนักงาน กศน. ให้การรับรองคุณภาพให้ทันต่อความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งจัดให้มี

ระบบหมุนเวียนตำราเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้บริการตำรา

เรียนอย่างเท่าเทียมกัน

๓) ขยายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้กับประชากรวัยแรงงาน

ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับและไม่อยู่ในระบบโรงเรียน โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ

๔) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรวมของนักศึกษา กศน.ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง

ทันสมัย และเชื่อมโยงกันทั่วประเทศ สามารถสืบค้นและสอบทานได้ทันความต้องการ

เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียน

๕) จัดให้มีวิธีการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความ

เข้าใจและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะเกี่ยวกับสาระและวิธีการเรียนรู้

ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑.๒ การส่งเสริมการรู้หนังสือ

๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือทั้งในระดับพื้นที่และส่วนกลางให้มี

ความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย และเป็นระบบเดียวกัน

๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผล และเครื่องมือการดำเนินงาน

สำหรับผู้ไม่รู้หนังสือให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย

๓) เพิ่มศักยภาพครู กศน.และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัด ให้มีความรู้ ความสามารถ

และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ

๔) มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการ

รู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือ และการพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานเพื่อ

ส่งเสริมการรู้หนังสือ สำหรับให้ประชาชนได้นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้

 








นโยบายต่อเนื่อง

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๕) พัฒนาระบบการประเมินผลระดับการรู้หนังสือให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

ในระดับประเทศ

๑.๓ การศึกษาต่อเนื่อง

๑) มุ่งจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับ

การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ใน ๕ กลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม

อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และกลุ่มอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง

ที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถ เจตคติที่

ดีต่อการประกอบอาชีพและทักษะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ได้จริง

๒) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยจัด

กิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของ

ตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

ครอบครัว และชุมชน

๓) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนโดยใช้รูปแบบการฝึกอบรม

การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับ

กลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดี

เศรษฐกิจชุมชน การอนุรักษ์พัฒนาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


และการรองรับการเปิดเสรี

ประชาคมอาเซียน


และหลักสูตรเชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจ

พอเพียง

๔) พัฒนาระบบคลังหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องให้ได้มาตรฐาน และสะดวกต่อ

การใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย

๑.๔ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

๑) เร่งรัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายและ

มาตรฐานของหลักสูตร

๒) พัฒนาครูและผู้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ

โดยส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถในการจัดทำแผนการเรียนการสอน การจัดกระบวนการ

เรียนรู้ และการวัดและประเมินผล

๓) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น และกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย

สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของกลุ่มเป้าหมาย

๔) ส่งเสริมการพัฒนาสื่อแบบเรียน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่ออื่นๆ ประกอบ

หลักสูตรโดยการมีส่วนร่วมของทั้งภาครัฐและเอกชน

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๕) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอด

ชีวิตที่หลากหลายสอดคล้องกับสภาพ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน

๖) มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับ

สภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ มีผลสัมฤทธใิ์ น

สาระความรู้พื้นฐานไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐

๗) พัฒนาระบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษานอกระบบทุกหลักสูตร

โดยเฉพาะหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการนำข้อทดสอบกลางมา

ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

๑.๕ การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

๑) เร่งรัดให้สถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้ได้มาตรฐาน โดย

พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการประกันคุณภาพภายในของ

สถานศึกษาได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้การประเมินภายในด้วยตนเอง

๒) เร่งรัดให้สำนักงาน กศน.จังหวัด/กทม. ดำเนินการประเมินคุณภาพภายใน

ของสถานศึกษาโดยต้นสังกัดให้ผ่านการประเมินคุณภาพภายใน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐

๓) เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา กศน.ที่มีผลการประเมิน

ภายนอกของสถานศึกษาไม่ได้ตามมาตรฐานที่ สมศ.กำหนดโดยปรับแผนพัฒนาคุณภาพ

การศึกษาของสถานศึกษา และดำเนินการตามแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้

คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสถานศึกษาที่ยังไม่ได้เข้ารับการประเมินคุณภาพ

ภายนอก ให้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด

๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน

สมศ. ผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

๑.๖ พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

๑) จัดและพัฒนาหลักสูตร รูปแบบและกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการ

เรียนรู้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพ บริบทในพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายใน

เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองและ

เสริมสร้างความสัมพันธ์ในท้องถิ่น

๒) ส่งเสริมการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับ

การศึกษา ด้านศาสนศึกษาเข้าสู่การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓) ให้หน่วยงานและสถานศึกษาจัดให้มีมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัย

แก่บุคลากรและนักศึกษา กศน.ตลอดจนผู้มาใช้บริการอย่างทั่วถึง

จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๑.๗ การศึกษาทางไกล

๑) พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียน

การสอน ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียน ทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ

การศึกษาต่อเนื่องโดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย

มาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพ

๒) พัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความพร้อมในการจัดและให้บริการ

การศึกษาทางไกลเพื่อให้ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ

๓) ขยายกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายผู้ให้บริการ และผู้รับบริการให้มากขึ้น

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๒. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย

๒.๑ การส่งเสริมการอ่าน

๑) พัฒนาระดับความสามารถในการอ่านของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้

ระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และอ่านเชิงคิดวิเคราะห์พื้นฐาน โดยผ่านกระบวนการปฏิรูปการ

เรียนการสอนที่มีคุณภาพ

๒) พัฒนาคนไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ โดยปลูกฝังและสร้าง

เจตคติให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการอ่าน ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม และ

กำหนดมาตรการจูงใจเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน

๓) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่าน ให้

เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และ

หลากหลาย รวมทั้งมีความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ที่สนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อ

ส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย โดยเฉพาะงานมหกรรมรักการอ่านในส่วนภูมิภาค

๔) ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านโดยจัดให้มี

อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล

๕) ส่งเสริมให้มี “นครแห่งการอ่าน” ในจังหวัดที่มีความพร้อมเพื่อสร้างเสริม

บทบาทของการส่งเสริมการอ่าน



จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๒.๒ ห้องสมุดประชาชน

๑) มุ่งเน้นพัฒนาห้องสมุดประชาชนทุกแห่งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ของชุมชนเป็นแหล่งค้นคว้าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำและสร้าง

รายได้อย่างยั่งยืนและการสร้างความพร้อมให้กับประชาชนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

๒) จัดตั้งห้องสมุดประชาชนในอำเภอที่ยังไม่มีห้องสมุดประชาชน เพื่อจัดบริการ

ให้กับประชาชนอย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยเน้นการระดมทรัพยากรและความร่วมมือ

จากภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน

๓) จัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ

เชื่อมโยงกับแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สำหรับให้บริการในห้องสมุดประชาชน

๔) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและ

ภายนอกห้องสมุด เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้วยตนเองของ

ประชาชน เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการปฏิบัติ

๕) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

ที่หลากหลายออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มโอกาสการ

เรียนรู้และการพัฒนาอาชีพของประชาชนและชุมชน

๖) พัฒนาศักยภาพบุคลากร ที่รับผิดชอบการบริการของห้องสมุดประชาชน ให้

มีความรู้ ความสามารถในการให้บริการสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุด

๗) แสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการ

ดำเนินงานห้องสมุดประชาชน

๒.๓ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

๑) พัฒนาและจัดทำนิทรรศการ มหกรรมวิทยาศาสตร์สัญจร และจัดกิจกรรมที่

เน้นการเสริมสร้างทักษะและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

วิเคราะห์ ปลูกจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม กระตุ้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และ

สร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้

ในการพัฒนาชีวิต พัฒนาอาชีพ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

๒) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชนโดยเน้น

วิทยาศาสตร์ชุมชนให้ผู้รับบริการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอาชีพ สิ่งแวดล้อม

การป้องกันภัยพิบัติจากธรรมชาติและการดำรงชีวิตประจำวัน ของประชาชนในพื้นที่

๓) ส่งเสริม สนับสนุน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน

และต่างประเทศให้ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แก่ผู้รับบริการ


จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๕ หน้า

๑๐

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 23,445 Today: 2 PageView/Month: 16

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...